นางสาวมัณฑนา จำปาเงิน

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ web blog การเรียนรู้











ประวัติส่วนตัว





ชื่อ นางสาวมัณฑนา จำปาเงิน



ชื่อเล่น นุ้ย



สถานภาพ โสด



ที่อยู่ 333/67 หมู่ 2 ต.มาบข่า อ.นิคมพัฒนา จ.ระยอง 21180



สถานที่ทำงาน บริษัท Yusen logistics Thailand LTD.



จบการศึกษาจาก วิทยาลัยอาชีวศึกษาพระนครศรีอยุธยา



ปัจจุบันศึกษาอยู่ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์































วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555

คำถามท้ายบทที่..1......

เทคโนโลยีสารสนเทศ
ปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทอย่างกว้างขวางในทุกวงการ และเทคโนโลยีสารสนเทศกลายเป็นเครื่องมือสำคัญของการทำงานทุกด้าน นับตั้งแต่ทางด้านการศึกษา พาณิชยกรรม เกษตรกรรม อุตสาหกรรม สาธารณสุข การวิจัยและพัฒนา ตลอดจนด้านการเมืองและราชการ อันที่จริงแล้วจะเห็นว่าไม่มีงานด้านใดที่ไม่มีผู้คิดประยุกต์หรือนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปช่วยให้การทำงานนั้น ๆ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies: ICTs) ก็คือ เทคโนโลยีสองด้านหลัก ๆ ที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหวข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์

เทคโนโลยี
 หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์
และเป็นหัวใจของการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและผลิตภัณฑ์เช่น การนำทรายซึ่งเป็นสารประกอบของซิลิกอนที่มีราคาต่ำ มาสกัดเอาสารซิลิกอนให้บริสุทธิ์ และเจือสารบางอย่างให้เกิดเป็นสิ่งที่เรียกว่าสารกึ่งตัวนำ นำมาผลิตเป็นทรานซิสเตอร์และไอซี ซึ่งไอซีนี้เป็นอุปกรณ์ที่รวมวงจรอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากไว้ด้วยกัน ใช้ทำชิพ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของคอมพิวเตอร์ ทำให้มีราคาสูงเทคโนโลยีจึงเป็นหนทางที่จะช่วยพัฒนาให้สินค้าและบริการต่าง ๆมีมูลค่าเพิ่มขึ้น

ข้อมูล
ข้อมูล   คือ ข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจ ข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลข ข้อความ หรือรายละเอียดซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ
เช่น ภาพ เสียง วีดิโอไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ  ข้อมูลเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง  และต้องถูกต้องแม่นยำ  ครบถ้วน ขึ้นอยู่กับผู้
ดำเนินการที่ให้ความสำคัญของความรวดเร็วของการเก็บข้อมูล ดังนั้นการเก็บข้อมูลจึงเป็นการเก็บรวบรวมเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจนั่นเอง ข้อมูลจึงหมายถึงตัวแทนของข้อเท็จจริง หรือความเป็นไปของสิ่งของที่เราสนใจ

ข้อมูล หมายถึง   ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่เราสนใจศึกษา จำแนกได้ดังนี้  
1. ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ ข้อมูลที่เป็นตัวเลขที่ใช้แสดงปริมาณของสิ่งต่างๆ
2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ ข้อมูลที่ใช้อธิบายลักษณะ สมบัติหรือสถานการณ์ของสิ่งต่างๆ
        ข้อมูล (data) หรือ ข้อมูลดิบ หมายถึง ข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อาจจะเป็นตัวเลข ตัวอักษร
หรือสัญลักษณ์ก็ได้. ข้อมูลที่ดีจะต้องมีความถูกต้องแม่นยำ และเป็นปัจจุบัน เช่น ปริมาณ ระยะทาง ชื่อ ที่อยู่
เบอร์โทรศัพท์คะแนนของนักเรียน รายงาน บันทึก ฯลฯ

สารสนเทศ
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรืออาจกล่าวได้ว่า สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
      เช่น สารสนเทศที่เป็น ความรู้ที่เกิดจากวิทยุ โทรศัพท์มือถือ ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ รอบตัวเราซึ่งอาจมาจาก วิทยุ โทรทัศน์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ดาวเทียม โทรศัพท์ เครื่องจักร ที่เกี่ยวกับสารสนเทศได้ เครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ เช่น การฝาก ถอนเงินผ่านเครื่อง ATM การจองตั๋วเครื่องบิน การลงทะเบียน 
  ฐานข้อมูล อยู่มากมายหลายคามหมาย ตัวอย่างเช่น
        ฐานข้อมูลอาจถือได้ว่าเป็นตู้เก็บเอกสารอิเล็กทรอนิคส์ชนิดหนึ่ง เช่น  เป็นที่รวมหรือเป็นที่บรรจุแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ชุดหนึ่ง เป็นต้น (A database can be regarded as a kind of electronic filing cabinet.)
        ฐานข้อมูลเป็นชุดของข้อมูลที่คงทน (Persistent Data) ซึ่งถูกเรียกใช้โดยระบบโปรแกรมของกิจการใดกิจการหนึ่ง    
  
โครงสร้างของสารสนเทศโดยแบ่งตามลำดับ

การนำไปใช้งานสามารถแบ่งได้ 4 ระดับดังนี้
1. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในการวางแผนนโยบาย กลยุทธ์ และการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในส่วนยุทธวิธีในการวางแผนการปฏิบัตและการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง
3. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในระดับปฎิบัติการและการควบคุมในขั้นตอนนี้ผู้บริหารระดับล่างจะเป็นผู้ใช้สารสนเทศเพื่อช่วยในการปฎิบัติงาน
4. ระบบสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผล
            
ระบบสารสนเทศเป็นระบบรวมทั้งนี้เนื่องจากไม่สามารถเก็บรวบรวมในลักษณะระบบเดียวเนื่องจากขนาดข้อมูลมีขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนมาก ทำให้การบริหารข้อมูลทำได้อยาก การนำไปใช้ไม่สะดวก จึงจำเป็นต้องแบ่งระบบสารสนเทศออกเป็นระบบย่อย 4 ส่วนได้แก่
           ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing System :TPS)
             ระบบจัดการรายงาน (Management Reporting System :MRS)
             ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System :DSS)
             ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information System :OIS)
  ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศมี 5 ส่วนคือ    
 
1. ฮาร์ดแวร์(เครื่องจักรอุปกรณ)์                            2. ซอฟต์แวร์

3. ข้อมูล                                                            4. บุคลากร

5.ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ยุคที่ 1 การประมวลผลข้อมูล (Data Processing Age) มีวัตถุประสงค์เพื่อการคำนวณและการประมวลผลข้อมูลของรายการประจำ (Transaction Processing) เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร

ยุคที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ (management Information System : MIS) มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจ ควบคุม ดำเนินการ ติดตามผลและวิเคราะห์ผลงานของผู้บริหารระดับต่าง ๆ

ยุคที่ 3 การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resource Management) ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเรียกใช้สารสนเทศที่จะช่วยในการตัดสินใจนำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ

ยุคที่ 4 ยุคปัจจุบันหรือยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) ใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ และเน้นความคิดของการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นวัตถุประสงค์สำคัญ

ตัวอย่างการพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศ
การใช้อีเมล์ (Email)
การสร้างเว็บสื่อสารสำหรับพนักงาน (Employees’ Portals)
การสร้างเว็บเพื่อให้พนักงานสามารถเข้าถึงและดูแลรักษาข้อมูลส่วนตัว (Employee Self Service)
การสร้างเว็บเพื่อให้ผู้บริหารสามารถจัดการและบริหารทรัพยากรบุคคลในหน่วยงานได้ (Manager Self Service)
การจัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลทางโทรศัพท์สำหรับพนักงาน ( Employee Call Center )
การใช้การประชุมทางไกลด้วยวิดีโอ (VDO Conference)
การปรับปรุงกระบวนการทำงาน (Business Process Improvement
หลายองค์กรในประเทศที่พัฒนาแล้วได้นำเอาเทคโนโลยีไปช่วยในการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการทำงานในหลายๆ ด้านคือ

ระบบการบันทึกประวัติการติดต่อและให้บริการ (Case Management System) โดยจะจัดเก็บข้อมูลของผู้รับบริการที่มาติดต่อใช้บริการแต่ละครั้ง เพื่อนำไปวิเคราะห์และปรับปรุงกระบวนการทำงานที่เกิดปัญหาต่อไป
การขจัดงานที่ไม่จำเป็นออกไปจากกระบวนการทำงาน (Non-Value Added) เพราะถือว่างานที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ย่อมทำให้เกิดการสูญเสียทั้งเวลา กำลังคน และค่าใช้จ่ายโดยเปล่าประโยชน์
การพัฒนาความสามารถในการทำงาน (Competency Development)

วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

คำถามท้ายบท ที่..2..


อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล (Input Device)
Input  หมายถึง  การป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทำการประมวลผล  โดย  User  จะเป็นผู้ป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่อง (input) และเครื่องจะนำไปประมวลผลเป็นข่าวสาร   ซึ่งอุปกรณ์ในการนำเข้าข้อมูลมาตรฐาน ได้แก่   Mouse, Keyboard   และ  Scanner
Keyboard
จะสร้างสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์และแปลงเป็นตัวอักษรคล้ายกับเครื่องพิมพ์ดีด ซึ่ง Keyboard  จัดเป็นส่วนหนึ่งของเครื่อง   ในแต่ละอุตสาหกรรมอาจมี Keboard   ที่มีลักษณะเฉพาะเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการใช้งาน
 ลักษณะการทำงานของ Keyboard
ใช้  Keyboard controller   เป็นตัวรับข้อมูลว่าปุ่มใด (Key)  ถูกกด  และจะทำการแปลงค่าสัญญาณเพื่อส่งต่อไปยังส่วนหนึ่งใน Keyboard  buffer  เพื่อบันทึกว่า Key ใดถูกกด  และ Keyboard controller  จะส่ง Interrupt  Request ไปยัง  System  Software ให้ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นที่ Keyboard  ซึ่ง Keyboard ที่เราใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน มีทั้ง Keyboard  แบบปกติที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไป  และ Keyboard  แบบพิเศษ ที่มีรูปทรงที่แปลกตา

Ergonomic keyboards
 ถูกออกแบบให้ลดการตึง   เกร็ง  การเคล็ดของข้อมือซึ่งอาจทำให้เกิด
อันตรายได้หากคุณต้องพิมพ์งานเป็นเวลานาน ๆ  โดย Ergonomic keyboards  ถูกออกแบบให้มีตำแหน่งการวางข้อมือและแขนเป็นพิเศษ
Mouse  
 ใช้ในการเลื่อนตำแหน่งของตัวชี้ (Pointer) บนหน้าจอ โดยการขยับ Mouseเลื่อนไปมาบนโต๊ะที่มีพื้นเรียบ    ซึ่งการขยับ Mouse แต่ละครั้งจะสัมพันธ์กับตำแหน่งของ Pointer บนหน้าจอ และรับคำสั่งเมื่อมีการกดปุ่มของ Mouse (click)  ซึ่งคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ Mouse มี 4 คำด้วยกันคือ
  •   Click
  •   Double Click
  •    Right Click  
Drag and  Drop
ประเภทของ
Mechanical  mouse: ใช้ลูกบอลเล็ก ๆ ในการกลิ้ง-หมุน ซึ่งลูกบอลจะอยู่ใต้ mouse
Optical  mouse : ใช้ลำแสงควบคุมการเคลื่อนที่ของ  mouse
Cordless  mouse : เม้าส์ไร้สาย  ใช้เคเบิลส่งคลื่นแสง  infrared หรือคลื่นวิทยุ เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์
การทำงานของ Mouse
มี 2 แกน วางอยู่เป็นมุมฉากข้างลูกบอล  ซึ่งแกนดังกล่าวจะเป็นแกนหมุนสัมผัสกับลูกบอล
และจะหมุนเมื่อลูกบอลเคลื่อนที่   ตัวดักสัญญาณจะส่งข้อมูลให้คอมพิวเตอร์ทราบว่าแกนหมุน  หมุนไปมากน้อยแค่ไหนเพื่อให้คอมพิวเตอร์แปลงสัญญาณและเลื่อนตำแหน่งให้สอดคล้องกับ Mouse
Mouse จัดเป็นอุปกรณ์ประเภทตัวชี้  ซึ่งอุปกรณ์ประเภทตัวชี้นี้ ไม่ได้มีเฉพาะ Mouse เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีอุปกรณ์ ตัวชี้ชนิดอื่นด้วย  ที่มีหน้าที่การทำงานเช่นเดียวกับ Mouse แต่รูปทรงและลักษณะนั้นแตกต่างออกไป  เช่น  อุปกรณ์ที่ใช้เล่นเกม  อุปกรณ์ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ Laptop หรือ Notebook
 Trackball
มีลักษณะคล้ายกับ mouse แต่ไม่มีแกนบังคับ   ใช้การหมุนลูกบอลในการ
ทำงาน  ส่วนมากใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์  Laptop   ทำงานโดยการหมุนลูกบอลโดยตรง เพื่อให้ Cursor เลื่อนไปยังตำแหน่งที่ ต้องการ
Joystick
มีด้ามสั้น ๆ ให้จับ   ควบคุมการเคลื่อนที่ของ pointer  โดยใช้การกดไกปืนเพื่อทำงาน
 Touchpad
มีรูปทรง 4  เหลี่ยม ใช้การกดและรับความไวของการเคาะ    มีเสียงในการกดเคาะ ดังแปะ ๆ (เหมือนการ Click)  สามารถเลื่อน  pointer ได้โดยการลูบในพื้นที่ 4 เหลี่ยม    การเลื่อน Cursor จะอาศัยนิ้วมือกดและเลื่อน  เป็นอุปกรณ์ที่ติดอยู่กับNotebook
 Pointing stick

เป็นลูกทรงกลมเล็ก ๆ ไวต่อการกด  วางอยู่กึ่งกลาง keyboard  ใช้การ
หมุนเพื่อควบคุมทิศทางการเคลื่อนที่ของ pointer
Graphics tablet
  ช้ปากกาควบคุมการย้ตำแหน่ง  วางอยู่บนกระดาน (Board)  ส่วนมากใช้สร้างแผนงานหรือวาดบทย่อ  หรือบทสรุปต่าง ๆ
 Digitizer
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในงานเขียนแบบ ที่เราเรียกว่า “Digitizing tablet” ขนาดของตารางจะแตกต่างกัน   ตารางจะมีการเชื่อมต่อสายเคเบิลเข้ากับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้มีการวาดภาพบนตาราง ตัวชี้บนตารางเราเรียกว่า Grid เพื่อกําหนดตําแหน่งในการป้อนข้อมูลให้กับคอมพิวเตอร์
 Pen- computing  based        
ใช้ปากกาแสง (Light Pen) ในการนำเข้าข้อมูล   พบในเครื่อง PDA  และ Pocket  PC 
การทำงาน  สามารถรับข้อมูลโดยการใช้ปากกาอิเล็กทรอนิกส์เขียนลงบนหน้าจอของ  PDA หรือ Pocket  PC  ซึ่ง หน้าจอถูกออกแบบมาให้ใช้ร่วมกับอุปกรณ์นี้โดยเฉพาะ พร้อมทั้งรับรู้ทิศทางการเคลื่อนไหวโดยใช้ความไวแสงเพื่อกําหนดตําแหน่งที่ชี้บนจอภาพ    บอกได้ว่ากำลังเขียนตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ใด สามารถอ่านลายเซ็นได้
  Scanner 
ใช้ในการอ่านอักขณะพิเศษ   ตัวเลข   และสัญลัษณ์ต่าง ๆ
 Flatbed  scanner :  จะ scan  ครั้งละ 1 หน้า  สามารถ scan เอกสารขนาดใหญ่ได้
 Sheetfed  scanner : จะดึงกระดาษเขาไป scan   ต้องกลับด้านของกระดาษ 
Laser scaner : ปัจจุบันมีหลากหลายชนิดให้เลือก รวมทั้งเครื่อง Scan  แบบสั่น โดยส่วนมากแล้วหากใช้งาน ณ.จุดขายหน้าร้าน (POS: Point of Sale)  ก็จะต้องมีอุปกรณ์อื่นที่ต้องใช้ร่วมกัน  เช่น เครื่องออกใบเสร็จ (Receipt printer)  เครื่อง print bar code  (Bar code printer)     จอคอมพิวเตอร์ที่ใช้ร่วมด้วยจะมีขนาดเล็ก (9” VGA MONO  หรือ 10” COLOR MONITOR)   keyboad  ที่ใช้ก็จะมีเฉพาะตัวเลข (Numeric keyboard)  รวมทั้งต้องใช้เครื่องช่างน้ำหนัก  ป้ายแสดงจำนวนเงิน  เครื่องลงเวลา
(Access Control and Time)  ลิ้นชักควบคุม (Cash Drawer)  เครื่องรูดบัตรชนิดต่าง ๆ  เป็นต้น  
  Bar Codes   Readers
เครื่องอ่านรหัสบาร์โค๊ด (Bar Code Readers)  เป็นอุปกรณ์ที่นํามาใช้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ในการประยุกต์ใช้งานทางด้านธุรกิจ  เช่น  อ่านป้ายบอกราคาสินค้า เพื่อสะดวกในการคำนวณจำนวนเงิน และสามารถป้องกันความผิดพลาดที่เกิดจากการบันทึกข้อมูลของผู้ใช้  รหัส Bar code ที่ใช้ในทางธุรกิจ เราเรียกว่า Universal Product Code (UPC)  โดยจะมีขีดสัญลักษณ์ในแนวตั้งขีดเรียงกัน (Bar code)   สัญลักษณ์นั้นแทนด้วยแถบสีขาวและดำที่มีความกว้างแทนค่าเป็น 1  และแคบแทนค่าเป็น   0  การอ่านข้อมูลนั้นพื้นที่ภายในแถบและช่องว่างจะทำให้เกิดความแตกต่างของการสะท้อนกลับ         
ประเภทของเครื่องอ่าน Bar Code
Hand  held  scaner  :  การใช้งานนั้นจะลากอุปกรณ์ผ่านรหัส Bar code  เครื่องจะทํา
การวิเคราะห์แสงที่ผ่านแท่งดําๆ ของรหัส  ว่าข้อมูลที่อ่านไว้เป็นรหัสอะไรและนําไปเปรียบเทียบกับข้อมูลเดิมที่คอมพิวเตอร์บันทึกเอาไว้ มีขนาดเครื่องเล็กและความแม่นยำต่ำ
 Cash Register  scaner :  มักพบเห็นในห้างสรรพสินค้า หรืองานที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทั่วไป  เช่น ใช้อ่าน Bar Codeของสินค้าหรือใช้อ่านรหัสบัตร
Optical Mark Readers (OMR) 
เครื่องอ่านข้อมูลด้วยแสง (Optical Mark Readers) เช่น  การอ่านข้อมูลบัตร Credit  หรือตรวจกระดาษคำตอบปรนัย  โดยจะบันทึกสัญลักษณ์หรือคำตอบเอาไว้ในคอมพิวเตอร์  และอาศัยการอ่านข้อมูลจากเครื่อง OMR เข้าไปเปรียบเทียบกับสัญลักษณ์ที่บันทึกเอาไว้

อุปกรณ์ของหน่วยประมวลผล มีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง
Central Processing Unit (CPU) หน่วยประมวลผลกลาง (ซีพียู)        
หน่วยเก็บที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นหน่วยสำคัญที่สุดเปรียบได้กับสมองของคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของหน่วยต่างๆ ให้ทำงานประสานสอดคล้องกัน หน่วยประมวลผลกลางแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนโดยประกอบรวมกันอยู่บนชิปเล็กๆ เพียงชิ้นเดียว เรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ (microprocessor) ส่วนต่างๆ เหล่านี้ได้แก่
1. หน่วยเรจิสเตอร์ (Register) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่ส่งจากหน่วยความจำหลักและข้อมูลที่จะนำไปใช้ประมวลผล
2. หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic and Logical Unit : ALU) ทำหน้าที่ประมวลผลด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์ และตรรกะ
3. หน่วยควบคุม (Control Unit) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานทุกส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่ ส่วนรับข้อมูล ส่วนประมวลผลกลาง และส่วนแสดงผล ให้ทำงานสอดคล้องกัน ซ็อกเก็ตซีพียู (CPU Socket)
คือ อุปกรณ์สำหรับติดตั้ง CPU ซึ่งแตกต่างกันไปตามรุ่นหรือยี่ห้อ สำหรับรุ่นที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี 5 แบบ
1. Socket 478              2. LGA 775                  3. Socket A (462)        4. Socket 754       5. Socket 939
ชิปเซต (Chip Set)
คือ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ทั้งหมดที่อยู่
- North Bridge Chip Set ควบคุมการรับ/ส่งข้อมูลของซีพียู และแรม
- South Bridge Chip Set ควบคุมสล็อต การ์ดอื่น และอุปกรณ์ต่อพ่วงทั้งหมด
เมนบอร์ด (mainboard) หรือ มาเธอร์บอร์ด (motherboard)
คือ แผงวงจรหลักของระบบคอมพิวเตอร์ หรือ แผงวงจรหลักที่ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนทางอิเล็คทรอนิกส์ต่างๆ ทำหน้าที่เป็นกลางทำให้อุปกรณ์ต่างๆ ทำงานร่วมกันได้ และเป็นศูนย์กลางในการต่อเชื่อมอุปกรณ์อื่นไม่ว่าจะเป็น CPU , RAM , HDD, CD-ROM , FDD VGA CARD เป็นต้น เมนบอร์ดแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อจะสนับสนุนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ไม่เหมือนกัน
สำหรับเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยทั่วไปจะประกอบด้วย หน่วยประมวลผลกลางไบออส และหน่วยความจำหลัก พร้อมช่องให้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมอื่นๆ ได้
ในบางประเทศ โดยเฉพาะในโฆษณาขายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล นิยมใช้ศัพท์แสลงเรียกเมนบอร์ดว่า mobo (โมโบ) โดยเป็นคำย่อจาก motherboard 
หน่วยความจำ (Memory)
Read-Only Memory (ROM) หน่วยความจำอ่านอย่างเดียว (รอม)
หน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์สำหรับเก็บคำสั่งไว้อย่างถาวรและยังคงมีคำสั่งเหล่านี้เก็บอยู่ ถึงแม้ไฟจะดับหรือปิดเครื่องแล้วก็ตาม รอมจะบรรจุโปรแกรมระบบที่สำคัญไว้โดยที่เราหรือคอมพิวเตอร์เองก็ไม่สามารถลบทิ้งได้ทั้งนี้เพราะเป็นชิปที่ผู้ผลิตได้บรรจุคำสั่งไว้อย่างถาวร เนื่องจากหน่วยความจำภายในของคอมพิวเตอร์จะว่างเปล่า เมื่อมีการเปิดเครื่อง จึงทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานใดๆ ได้ถ้าไม่ให้คำสั่งในการเริ่มต้น ซึ่งคำสั่งเหล่านี้จะถูกเก็บอยู่ในรอมนั่นเอง
Random-Access Memory (RAM) หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม (แรม)
หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม หรือที่เรียกกันโดยย่อว่า แรม เป็นหน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ที่ใช้เก็บคำสั่งและข้อมูล เพื่อสามารถเข้าถึงโดยตรงในการควบคุมการทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง โดยผ่านทางบัสข้อมูลภายนอกความเร็วสูง ชื่อแรมมักจะเรียกว่าหน่วยความจำอ่าน/บันทึกเพื่อเป็นการแบ่งแยกจากหน่วยความจำอ่านอย่างเดียวหรือรอม (ROM) ซึ่งเป็นส่วนประกอบอีกส่วนหนึ่งของหน่วยเก็บหลัก (primary storage) ของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
ในแรมนี้เองที่หน่วยประมวลผลกลางสามารถบันทึกและอ่านข้อมูล โปรแกรมส่วนมากจะจัดส่วนของแรมไว้ต่างหากเพื่อเป็นเนื้อที่ทำงานชั่วคราวสำหรับข้อมูลของเรา เพื่อที่เราจะสามารถบันทึกทับใหม่ได้เท่าที่ต้องการจนกว่าข้อมูลนั้นจะถูกนำไปพิมพ์หรือเก็บในหน่วยเก็บรอง (secondary storage) เช่น จานบันทึกแบบแข็งหรือแผ่นบันทึก ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ในแรมจะหายไปได้เมื่อมีการปิดเครื่องหรือเมื่อกระแสไฟดับ ดังนั้นเราจึงต้องเก็บบันทึกงานที่ทำอยู่ตลอดเวลาและก่อนที่จะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูล 
ฮาร์ดดิคส์ (Harddisk)
ฮาร์ดดิคส์ เรียกอีกอย่างว่า Fix Disk เป็นสื่อบันทึกข้อมูลประเภทหนึ่ง (Storage Device) ปัจจุบันเป็นอุปกรณ์ ที่จำเป็น และ เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ติดตั้งมาพร้อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ใช้ในการติดตั้งระบบปฏิบัติการลงโปรแกรม ประยุกต์และ เก็บข้อมูลของผู้ใช้ เนื่องจากโปรแกรม หรือข้อมูลในปัจจุบันมีขนาดใหญ่ ไม่สามารถที่จะเก็บ ลงในแผ่นดิสเก็ต ได้หมด ฮาร์ดดิสค์ จะบรรจุอยู่ในกล่องโลหะปิดสนิท เพื่อป้องสิ่งสกปรกหลุดเข้าไปภายใน ซึ่งถ้าต้อง การเปิดออกจะต้อง เปิดในห้องเรียก clean room ที่มีการกรองฝุ่นละออกจากอากาศเข้าไปในห้อง ออกแล้ว ฮาร์ดดิสค์ ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เป็นแบบติดภายในเครื่องไม่ เคลื่อนย้ายเหมือนแผ่นดิสเก็ต ดิสค์ประเภทนี้อาจเรียกว่า ดิสค์วินเชสเตอร ์(Winchester Disk) 
ฟลอปปีดิสก์ (floppy disk)
แผ่นดิสก์แบบอ่อน หรือ ฟลอปปีดิสก์ (floppy disk) หรือที่นิยมเรียกว่า แผ่นดิสก์ หรือ แผ่นดิสเก็ตต์ เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูล ที่อาศัยหลักการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็ก. โดยทั่วไปมีลักษณะบางกลมเก็บอยู่ในตัวป้องกันพลาสติกรูปสี่เหลี่ยม. คอมพิวเตอร์สามารถอ่านและเขียนข้อมูลลงบนฟลอปปีดิสก์ ผ่านทางช่องฟลอปปีดิสก์ (ฟลอปปีดิสก์ไดร์ฟ).

การ์ดแสดงผล (Display Card)
(อังกฤษ: graphic adaptor หรือ graphics card, video card, video board, video display board, display adapter, video adapter แล้วแต่จะเรียก) เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลเกี่ยวกับการแสดงผลจากหน่วยความจำ มาคำนวณและประมวลผล จากนั้นจึงส่งข้อมูลในรูปแบบสัญญาณเพื่อนำไปแสดงผลยังอุปกรณ์แสดงผล (มักเป็นจอภาพ)
การ์ดแสดงผลสมัยเก่าทำหน้าที่แปลงข้อมูลดิจิทัลเป็นสัญญาณเท่านั้น แต่จากกระแสของการ์ดเร่งความเร็วสามมิติ ในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษที่ 90 โดยบริษัท 3dfx และ nVidia ทำให้เทคโนโลยีด้านสามมิติพัฒนาไปมาก ปัจจุบันการ์ดแสดงผลสมัยใหม่ได้รวมความสามารถในการแสดงผลภาพสามมิติมาไว้เป็นมาตรฐาน และได้เรียกชื่อใหม่ว่า GPU (Graphic Processing Unit) โดยสามารถลดงานด้านการแสดงผลของของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ได้มาก
ในปัจจุบันการ์ดแสดงผลจำนวนมากไม่อยู่ในรูปของการ์ด แต่จะอยู่เป็นส่วนหนึ่งของแผงเมนบอร์ดซึ่งทำหน้าที่เดียวกัน วงจรแสดงผลเหล่านี้มักมีความสามารถด้านสามมิติค่อนข้างจำกัด แต่ก็เหมาะสมกับงานในสำนักงาน เล่นเว็บ อ่านอีเมล เป็นต้น สำหรับผู้ที่ต้องการความสามารถด้านสามมิติสูง ๆ เช่น ใช้เพื่อเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ยังอยู่ในรูปของการ์ดที่ต้องเสียบเพิ่มเพื่อให้ได้ภาพเคลื่อนไหวที่เป็นสามมิติที่สมจริง ในทางกลับกัน การใช้งานบางประเภท เช่น งานทางการแพทย์ กลับต้องการความสามารถการแสดงภาพสองมิติที่สูงแทนที่จะเป็นแบบสามมิติ
เดิมการ์ดแสดงผลแบบสามมิติอยู่แยกกันคนละการ์ดกับการ์ดแบบสองมิติและต้องมีการต่อสายเชื่อมถึงกัน เช่น การ์ดVoodoo ของบริษัท 3dfx ซึ่งปัจจุบันไม่มีแล้ว ปัจจุบันการ์ดแสดงผลสามมิติมีความสามารถเกี่ยวกับการแสดงผลสองมิติในตัว
Compact Disc (CD) แผ่นซีดี (ซีดี)
แผ่นพลาสติกกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.75 นิ้ว (12 เซ็นติเมตร) ที่บันทึกและอ่านข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ บันทึกข้อมูลด้วยสัญญาณดิจิทัลในรูปแบบซีแอลวี (CLV) แผ่นซีดีเป็นมาตรฐานที่พัฒนาร่วมกันโดยบริษัทโซนี และบริษัทฟิลิปส์ มีการประกาศใช้เมื่อปี ค.ศ. 1980 และจัดอยู่ในมาตรฐานเรดบุ๊ก (Red Book)
ซีดี (CD)
ซีดีเสียง หรือ ซีดีเพลง หรือ ออดิโอซีดี (audio CD) เก็บสัญญาณเสียงในรูปแบบที่เป็นไปตามมาตรฐานเรดบุ๊ค (red book)ซีดีเสียงประกอบด้วยแทร็คสเตอริโอหลายแทร็ค ที่เก็บโดยการเข้ารหัสแบบ PCM ขนาด 16 บิตด้วยอัตราการสุ่มตัวอย่าง44.1 kHz
คอมแพคดิสค์มาตรฐานมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 120 มิลลิเมตร แต่มีรุ่นขนาด 80 มิลลิเมตรอยู่ในรูปการ์ดขนาดเท่านามบัตรหรือเป็นรูปวงกลม แผ่นดิสค์ขนาด 120 มิลลิเมตร สามารถบันทึกเสียงได้ 74 นาที แต่มีรุ่นที่สามารถบันทึก 80 หรือ 90นาทีด้วย แผ่นดิสค์ขนาด 80 มิลลิเมตร ใช้เป็นแผ่นซีดีซิงเกิล หรือใช้เป็นนามบัตรประชาสัมพันธ์ เก็บเสียงใช้เพียงแค่ 20นาที
ดีวีดี (DVD; Digital Video Disc)
เป็นแผ่นข้อมูลแบบบันทึกด้วยแสง (optical disc) ที่ใช้บันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ โดยให้คุณภาพของภาพและเสียงที่ดี ดีวีดีถูกพัฒนามาใช้แทนซีดีรอม โดยใช้แผ่นที่มีขนาดเดียวกัน (เส้นผ่าศูนย์กลาง 12 เซนติเมตร) แต่ว่าใช้การบันทึกข้อมูลที่แตกต่างกัน และความละเอียดในการบันทึกที่หนาแน่นกว่า
เดิมทีดีวีดีมาจากชื่อย่อว่า digital video disc แต่ในภายหลังผู้ผลิตบางรายเห็นว่าควรเปลี่ยนชื่อเป็น digital versatile discปัจจุบันตามคำนิยามอย่างเป็นทางการแล้ว DVD ไม่ได้ย่อมาจากชื่อเต็มแต่อย่างใด

อุปกรณ์แสดงผลมีหน้าที่อะไรและมีอุปกรณ์อะไรบ้าง

จอภาพ (Monitor)
ใช้แสดงข้อมูลหรือผลลัพธ์ให้ผู้ใช้เห็นได้ทันที มีรูปร่างคล้ายจอภาพของโทรทัศน์ บนจอภาพประกอบด้วยจุดจำนวนมากมาย เรียกจุดเหล่านั้นว่า พิกเซล (pixel) ถ้ามีพิเซลจำนวนมากก็จะทำให้ผู้ใช้มาองเห็นภาพบนจอได้ชัดเจนมากขึ้น จอภาพที่ใช้ในปัจจุบันแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ
จอซีอาร์ที (Cathode Ray Tube) นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนมากในปัจจุบัน ใช้หลักการยิงแสงผ่านหลอดภาพคล้ายกับโทรทัศน์
จอแอลซีดี (Liquid Crystal Display) นิยมใช้เป็นจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาทำให้เป็นจอภาพที่มีความหนาไม่มาก มีน้ำหนักเบาและกินไฟน้อยกว่าวจอภาพซีอาร์ที แต่มีราคาสูงกว่า เทคโนโลยีจอแอลซีดีในปัจจุบันจะมีสองแบบคือPassive Matrix ซึ่งมีราคาต่ำแต่ขาดความคมชัดและอาจมองไม่เห็นภาพเมื่อผู้ใช้มองจากบางมุม ส่วน Aciive Matrix หรือบางครั้งอาจเรียกว่า Thin Film Transistor (TFT) จะให้ภาพที่คมชัดกว่าแต่จะมีราคาสูงกว่ามาก สมัยก่อนมีจอภาพระบบขาวดำหรือเขียวดำ ซึ่งเรียกว่า จอโมโนโครม (Monochrome) แต่ปัจจุบันนี้ซอฟต์แวร์ส่วนมากจะใช้ร่วมกับจอภาพชนิดสีเท่านั้น ซึ่งจะมีจอภาพอยู่หลายชนิดให้เลือก โดยแตกต่างกันในส่วนของ ความละเอียด ( Resolution) จำนวนสี (color)และ ขนาดของจอภาพ (size) ในส่วนความละเอียดของจอภาพ ในปัจจุบันจะนิยมใช้จอภาพชนิดสีแบบ Super Video Graphic Adapter หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ซูเปอร์วีจีเอ (Super VGA) ซึ่งมีความละเอียด 800x600 พิกเซล สำหรับจอภาพที่มีความละเอียดต่ำ (low resolution) และสำหรับจอภาพที่มีความละเอียดสูง จะนิยมใช้ความละเอียดที่1024x768,1280x1024 หรือ 1600x1200 พิกเซล ซึ่งจะให้ความคมชัดที่สูงมาก สิ่งที่เป็นปัจจัยอีกอันหนึ่งที่ทำให้ภาพดูคมชัดมากขึ้นถึงแม้ว่าจะมีจำนวนพิกเซลเท่ากัน ก็คือ ระยะห่างระหว่างพิกเซล (dot pitch) โดยระยะห่างระหว่างพิกเซลน้อยก็จะให้ความละเอียดได้มากกว่าจอภาพที่มีขายในท้องตลาดปัจจุบันมีระยะห่างระหว่างพิกเซลอยู่ระหว่าง 0.25-0.28หน่วย ซึ่งระยะห่างระหว่างพิกเซลนี้เป็นสิ่งที่ติดมากับเครื่องไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
ในส่วนของจำนวนสีนั้น ณ ขณะใดขณะหนึ่งแต่ละพิเซลจะแสดงสีได้เพียงสีเดียวเท่านั้น ซึ่งสีต่าง ๆ จะถูกแทนด้วยตัวเลข ดังนั้น ถ้าจอภาพแสดงได้ 16 สี เลขเหล่านั้นก็จะแทนด้วย 4 บิต ถ้าต้องการแสดงถึง 256 สีก็จะต้องใช้ 8 บิตแทนรหัสสีนั้น ๆปัจจุบันนี้ผู้ใช้มักจะแสดงภาพกราฟิก ภาพจากโทรทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว บนจอภาพคอมพิวเตอร์ จุงต้องการจอภาพที่มีขนาดใหญ่มากขึ้น จอภาพที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีขนาด 14 นิ้ว 15 นิ้ว และ 17 นิ้ว ส่วนจอภาพซึ่งมีจนาดใหญ่กว่านี้จะนิยมใช้กับงานที่เน้นกราฟฟิก เช่น งานออกแบบ (CAD/CAM) เป็นต้น
จอภาพคอมพิวเตอร์และแผงวงจรกราฟฟิก
การต่อจอภาพเข้ากับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์นั้นจะต้องมี แผงวงจรกราฟฟิก (Graphic Adapter Board) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การ์ดวีดีโอ (video card) ซึ่งจอภาพแต่ละชนิดก็ต้องการแผงวงจรที่ต่างกัน แผงวงจรกราฟฟิกจะถูกเสียบเข้ากับ ช่องขยายเพิ่มเติม (expansion slot) ในคอมพิวเตอร์ แผงวงจรกราฟฟิกมักจะมีหน่วยความจำเฉพาะที่เรียกว่า หน่วยความจำวีดีโอ (video memory) เพื่อให้ใช้โปรแกรมด้านกราฟฟิกได้สวยงามและรวดเร็ว ซึ่งหน่วยความจำนี้อาจใช้แรมธรรมดาหรือแรมแบบพิเศษต่าง ๆ เพื่อให้สามารถทำงานได้เร็วขึ้น เช่น วีดีโอแรม (video RAM) ซึ่งบางครั้งเรียกว่า วีแรม (VRAM) เป็นต้น
สิ่งที่เป็นปัจจัยข้อหนึ่งที่ผู้ใช้จอภาพต้องคำนึงคือ อัตราการเปลี่ยนภาพ (refresh rate) ของการ์ดวีดีโอ โดยภาพที่แสดงบนจอภาพแต่ละภาพนั้นจะถูกลบและแสดงภาพใหม่เริ่มจากบนลงล่าง หาก อัตรการเปลี่ยนภาพในแนวดิ่ง (Vertical-refresh rate) เป็น 60 ครั้งต่อวินาที หรือ 60 Hz จะเกิดการกระพริบทำให้ผู้ใช้ปวดศีรษะได้ มีผู้วิจัยพบว่าอัตราเปลี่ยนภาพในแนวดิ่งไม่ควรต่ำกว่า 70 Hz จึงจะไม่เกิดการกระพริบ และทำให้ผู้ใช้ดูจอภาพได้อย่างสบายตา นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์สำหรับถอดรหัสภาพแบบ MPEG (Motion Picture Experts) ซึ่งอาจอยู่ในรูปของซอฟต์แวร์ หรือฮาร์ดแวร์ที่ติดอยู่บนการ์ดวีดีโอ อันจะทำให้สามารถแสดงภาพเคลื่อนไหว เช่น ภาพยนตร์ต่าง ๆ บนจอคอมพิวเตอร์ได้อย่างต่อเนื่อง
Projector

อุปกรณ์ฉายภาพ (Projector)
เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเรียนการสอนหรือการประชุม เนื่องจากสามารถนำเสนอข้อมูลให้ผู้ชมจำนวนมากเห็นพร้อม ๆ กัน อุปกรณ์ฉายภาพในปัจจุบันจะมีอยู่หลายแบบ ทั้งที่สามารถต่อสัญญาณจากคอมพิวเตอร์โดยตรง หรือใช้อุปกรณ์พิเศษในการวางลงบนเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Overhead Projector) ธรรมดา เหมือนกับอุปกรณ์นั้นเป็นแผ่นใส่แผ่นหนึ่งอุปกรณ์ฉายภาพจะมีข้อแตกต่างกันมากในเรื่องของกำลังส่องสว่าง เนื่องจากยิ่งมีกำลังส่องสว่างสูง ภาพที่ได้ก็จะชัดเจนมากขึ้น กำลังส่องสว่างมีหน่วยวัดค่าอยู่ 3 แบบ คือ LUX , LUMEN และ ANSI LUMEN โดยการวัดค่าแบบ LUX จะวัดค่าความสว่างที่จุดกึ่งกลางของภาพ จึงได้ค่าความสว่างสูงที่สุดเมื่อเทียบกับอีก 2 แบบ การวัดแบบ จะแบ่งภาพออกเป็น 3ส่วน คือ บน กลางและล่าง และแต่ละส่วนจะถูกแบ่งออกเป็น 3 จุด คือ ริมซ้าย กลาง และริมขวา รวมจุดภาพทั้งหมด 9จุด แล้วจึงใช้ค่าเฉลี่ยของความสว่างทั้ง 9 จุดคิดออกมาเป็นค่า LUMEN ส่วนการวัดแบบ ANSI LUMEN จะมีมาตรฐานสูงสุด โดยใช้วิธีเดียวกับ แต่จะกำหนดขนาดจอภาพไว้คงที่คือ 40 นิ้ว (หากไม่กำหนด การวัดค่าความสว่างจะสูงขึ้นเมื่อจอภาพมีขนาดเล็กลง)
อุปกรณ์ฉายภาพ

อุปกรณ์เสียง (Audio Output)
คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ มักจะมีหน่วยแสดงเสียง ซึ่งประกอบขึ้นจาก ลำโพง (speaker) และ การ์ดเสียง (sound card) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถฟังเพลงในขณะทำงาน หรือให้เครื่องคอมพิวเตอร์รายงานเป้นเสียงให้ทราบเมื่อเกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น ไม่มีกระดาษในเครื่องพิมพ์ เป็นต้น รวมทั้ง สามารถเล่นเกมส์ที่มีเสียงประกอบได้อย่างสนุกสนาน โดยลำโพงจะมีหน้าที่ในการแปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ให้เป็นเสียงเช่นเดียวกับลำโพงวิทยุ ส่วนการ์ดเสียงจะเป็นแผงวงจรเพิ่มเติมที่นำมาเสียงกับช่องเสียบขยายในเมนบอร์ด เพื่อช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถส่งสัญญาณเสียงผ่านลำโพง รวมทั้งสามารถต่อไมโครโฟนเข้ามาที่การ์ดเพื่อบันทึกเสียงเก็บไว้ด้วย

หน่วยแสดงผลถาวร (Hard Copy)
หมายถึงการแสดงผลที่สามารถจับต้อง และเคลื่อนย้ายได้ตามต้องการ มักจะออกมาในรูปของกระดาษ ซึ่งผู้ใช้สามารถนำไปใช้ในที่ต่าง ๆ หรือให้ผู้ร่วมงานดูในที่ใด ๆ ก็ได้ อุปกรณ์ที่ใช้ เช่น
 
เครื่องพิมพ์ (Printer)
เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้กันมาก และมีให้เลือกหลายชนิดขึ้นอยู่กับคุณภาพของตัวอักษร ความเร็วในการพิมพ์ และเทคโนโลยีที่ใช้งาน สามารถแบ่งตามวิธีการพิมพ์ได้ 2 ชนิด คือ

เครื่องพิมพ์ชนิดตอก (Impact printer) ใช้การตอกให้คาร์บอนบนผ้าหมึกติดบนกระดาษตามรูปแบบที่ต้องการ สามารถพิมพ์ครั้งละหลายชุดโดยใช้กระดาษคาร์บอนวางระหว่างกระดาษแต่ละแผ่นได้ ข้อเสียของเครื่องพิมพ์ชนิดนี้คือ มีเสียงดังและคุณภาพงานพิมพ์ที่ได้จะไม่ดีนักสามารถแบ่งเป็น 2 ชนิดย่อย คือ
เครื่องพิมพ์อักษร (character printer) หมายถึงเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ครั้งละหนึ่งตัวอักษรเท่านั้น ตัวอักษรแต่ละตัวจะถูกสร้างขึ้นจากจุดเล็ก ๆ จำนวนมาก จึงสามารถเรียกอีกอย่างว่าเครื่องพิมพ์แบบจุด (dot matrix printer)นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
เครื่องพิมพ์บรรทัด (line printer) หมายถึงเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ครั้งละหนึ่งบรรทัด เป็นเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์งานได้เร็ว แต่จะมีราคาสูง นิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ หรือเครื่องพิมพ์ที่มีผู้ใช้หลายคน
เครื่องพิมพ์ชนิดไม่ตอก (Nonimpact printer) ใช้เทคนิคการพิมพ์จากวิธีการทางเคมี ซึ่งทำให้พิมพ์ได้เร็วและคมชัดกว่าชนิดตอก และพิมพ์ได้ทั้งตัวอักษรและภาพกราฟฟิค รวมทั้งไม่มีเสียงขณะพิมพ์ แต่มีข้อจำกัดคือไม่สามารถพิมพ์กระดาษแบบสำเนา (copy) ได้ ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser printer) ทำงานคล้ายกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือมีแสงเลเซอร์สร้างประจุไฟฟ้า ซึ่งจะมีผลให้โทนเนอร์ (toner) สร้างภาพที่ต้องการและพิมพ์ภาพนั้นลงบนกระดาษ เครื่องพิมพ์เลเซอร์จะมีรุ่นต่าง ๆ ที่แตกต่างกันในด้านความเร็ว และความละเอียดของงานพิมพ์ โดยในปัจจุบันสามารถพิมพ์ได้ละเอียดสูงสุดถึง 1200 จุดต่อนิ้ว (dot per inchหรือ dpi)

Printer

เครื่องพิมพ์ฉีดหมึก (Inkjet printer) นิยมใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ส่วนมากจะสามารถพิมพ์สีได้ ถึงแม้จะไม่คมชัดเท่าเครื่องพิมพ์ชนิดเลเซอร์ แต่ก็คมชัดกว่าเครื่องพิมพ์ชนิดตอก และมีราคาถูกกว่าเครื่องพิมพ์ชนิดเลเซอร์ ทำให้ได้รับความนิยมนำมาใช้งานตามบ้านอย่างมาก
เครื่องพิมพ์ความร้อน (Thermal printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ให้คุณภาพในการพิมพ์สูงสุด จะมี 2 ประเภท คือ Thermal wax transfer ให้คุณภาพและราคาที่ต่ำกว่า ทำงานโดยการกลิ้งริบบอนที่เคลือบแวกซ์ไปบนกระดาษ ส่วน Thermal dye transfer ใช้หลักการเดียวกับ Thermal wax แต่ใช้สีย้อมแทน จะเป็เครื่องพิมพ์ที่ให้คุณภาพสูงสุด โดยสามารถพิมพ์ภาพสีได้ใกล้เคียงกับภาพถ่าย แต่ราคาเครื่องและค่าใช้จ่ายในการพิมพ์จะสูงมาก